หัวบล็อก

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่6


นวัตกรรมการศึกษา (Innovation in Education)

      การศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาที่พัฒนาการตามยุค IT นวัตกรรมจึงถูกนำมาใช้กับการศึกษาที่เรียกว่า"นวัตกรรมการศึกษา"(Innovation Education)

      "นวัตกรรม" หมายถึง การทำอะไรใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆมาปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพของงานหรือของสิ่งที่ได้กระทำให้ดียิ่งขึ้น "นวัตกรรมการศึกษา" เป็นการนำแนวคิด วิธีการการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพให้การศึกษา มีระบบที่ดีขึ้น มีคุณภาพ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลสูงขึ้น

บทบาทของนวัตกรรมเพื่อการศึกษา
      การศึกษาในปัจจุบันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่การศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นที่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนทุกสถานที่ที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต "นวัตกรรม"จึงมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่จะเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มากยิ่งขึ้น

      ลักษณะที่จัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่ได้คิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สิ่งที่เคยนำมาใช้แล้วและปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น หรือสิ่งที่คิดเพิ่มเติมจากเดิม การนำวิธีการใหม่ๆที่ดีกว่ามาปรับปรุงแก้ไขวิธีการเดิมๆ การคิดค้นระบบหรือการจัดการวิธีการ การวิจัยหรืออื่นๆ แล้วนำมาเผยแพร่กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น
      คอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย
      คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
      บทเรียนแบบโปรแกรม
      ชุดการสอน

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้

      สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้นั้นบางท่านคิดถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนหรือวิธีการสอนเท่านั้น แต่มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนการสอนได้แก่
      ครูผู้สอน
      ผู้เรียน
      หลักสูตรเนื้อหา
      ทักษะกระบวนการต่างๆ
      สื่ออุปกรณ์

นวัตกรรมแนววิธีสอน
      นวัตกรรมวิธีสอนเป็นแนวจัดการสอนที่จะนำมาใช้สอนเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุตามจุดประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ แนววิธีการสอนและเทคนิคต่างๆเพื่อนำมาใช้สอนที่เหมาะสมกับวิชาที่สอน มีเทคนิควิธีการ ต่างๆ คือ

1. เทคนิค Jigsaw เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้สอนนักเรียนได้ทั้งเล็กและโต เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม 

มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คือ

       1.ครูแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนเท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่มของนักเรียน
       2.จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4-5 คน
       3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการศึกษาหัวข้อย่อยๆของเนื้อหา
      4.ให้นักเรียนที่ศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกันมารวมกันเป็นกลุ่มใหม่เพื่อร่วมอภิปราย ซักถามให้มีความรู้ความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
       5.ให้นักเรียนกลุ่มใหม่แยกย้ายกลับไปกลุ่มเดิมของตน แล้วผลัดกันอธิบายความรู้ที่ได้รับให้เพื่อนในกลุมฟัง
       6.นักเรียนในกลุ่มทำแบบทดสอบย่อยเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ นำคะแนนของสมาชิกกลุ่มแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม

2. เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions) เป็นเทคนิคการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ใช้กับนักเรียนที่เป็นเด็กเล็กและโตได้ 



มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

       1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      2.แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
      3.แบ่งหน้าที่ในกลุ่ม ศึกษาและทำกิจกรรมในใบงาน
      4.นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ
      5.นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำคะแนนการพัฒนา

3. เทคนิค TGT (Team Games Tournament) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้กับการเรียนการสอนที่ต้องการให้นักเรียนได้สนุกสนานและกระบวนการกลุ่ม 
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
      3.นักเรียนเตรียมความพร้อมให้สมาชิกกลุ่ม โดยการซักซ้อมความรู้ความเข้าใจ ซักถามปัญหาที่ตั้งขึ้นเอง
      4.จัดการแข่งขันระหว่างกลุ่ม โดยส่งชื่อผู้เข้าแข่งขัน
      5.ประกาศผลการแข่งขัน ชมเชยนักเรียนที่ชนะ

4. เทคนิค GI (Group Inverstigation) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต สามารถใช้สอนในวิชาหลักได้ทุกวิชา 
   มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ
     1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ให้มีความสามารถเท่ากัน
      3.แบ่งเรื่องที่ศึกษาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ แบ่งเป็นใบงานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ฯลฯ
      4.นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมในใบงาน
      5.แต่ละกลุ่มนำเสนอรายงานหน้าชั้น

5. เทคนิค NHT (Numbered Heads TogetHer) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้กับการสอนวิชาหลัก และกิจกรรมพัฒนาตนเองได้ สามารถใช้สอนได้กับเด็กเล็กและเด็กโต 
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
      3.ครูแจกใบงาน
      4.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มซักซ้อม ทบทวนปัญหาจนสมาชิกในกลุ่มเข้าใจคำตอบ
      5.ครูถามคำถามนักเรียนในกลุ่มโดยเรียกนักเรียนคนใดคนหนึ่งตอบคำถาม
      6.ชมเชยนักเรียนกลุ่มที่มีสมาชิกตอบได้มากที่สุด

6. เทคนิค Buzzing เป็นเทคนิคการสอนที่ใช้กลุ่มย่อย เป็นการสอนโดยการระดมความคิดของทุกคนในกลุ่ม 
    มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ
      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 6-8 คน
      2.ครูแจกใบความรู้
      3.นักเรียนช่วยกันระดมความคิด สมาชิกร่วมกันอภิปราย
      4.ให้นักเรียนสรุปความคิดที่เป็นเอกฉันท์

7. เทคนิค UCEFAS (Uitimate Current Effect Facto Aiternative Soulution) เป็นเทคนิคการสอนแบบการคิดแก้ปัญหา สามารถใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต ถ้าเป็นเด็กเล้กก็ให้ปัญหาที่ไม่ซับซ้อนเกินไปโดยให้นักเรียนหาปัญหาทั่วๆไปที่พบเห็นอยู่เสมอ 
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-8 คน
      2.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
      3.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดสภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น
      4.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดอภิปรายถึงสภาพปัจจุบันของปัญหา
      5.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์ผลกระทบจากปัญหา
      6.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
      7.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์คิดหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
      8.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา เพื่อร่วมกันคัดเลือกหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด

8. เทคนิค หมวก 6 ใบ เป็นเทคนิคการสอนแบบตั้งคำถามเป็นการสอนเพื่อพัฒนาการคิดสำหรับนักเรียนทุกระดับ 
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.แบ่งกลุมนักเรียนให้คิด ดังนี้
      กลุมที่ 1 ตั้งคำถามให้คิด (สีขาว)
      กลุ่มที่ 2 ถามความรู้สึก (สีแดง)
      กลุ่มที่ 3 ตรวจสอบหาผลกระทบ (สีดำ)
      กลุ่มที่ 4 หาข้อดี (สีเหลือง)
      กลุ่มที่ 5 หาทางเลือกในการพัฒนา (สีเขียว)
      กลุ่มที่ 6 โครงสร้างกระบวนการคิด
      3.กลุ่มสรุปแผนการดำเนินโครงการ

9. เทคนิค Storyline Method เป็นเทคนิคการสอนแบบบูรณาการ ใช้สอนได้กับนักเรียนทุกระดับชั้น เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนากระบวนการกลุ่ม 
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ
      1.ครูวิเคราะห์เนื้อหาที่เรียน
      2.แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
      3.จัดกิจกรรมตามเนื้อเรื่องที่กำหนดเป็นตอนๆ โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
      4.กำหนดฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต และเหตุการณ์


10. "ชิงร้อย ชิงล้าน" เป็นเทคนิคการสอนแบบการเล่นเกม ใช้สอนในวิชาหลักได้และใช้สอนเด็กได้ทุกระดับ 
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.แจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      3.แต่ละกลุ่มตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่านกลุ่มละ 10 คำถาม เป็นลักษณะ
คำถาม "จริงหรือไม่"
      4.นักเรียนคัดเลือกพิธีกรชาย 1 คน หญิง 1 คน
      5.พิธีกรคัดเลือกคำถามจากกลุ่มต่างๆ ประมาณ 10-15 คำถาม
      6.พิธีกรเริ่มรายการ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบ
      7.ถ้ากลุ่มใดตอบผิด ให้กลุ่มตอบถูกเป็นผู้เฉลย
      8.แต่ละกลุ่มช่วยบันทึกคะแนนที่ได้

11. "แชมเปี้ยนเกม" เป็นเทคนิคการสอนแบบเล่นเกม เป็นวิธีการสอนให้เกิดความรู้และความสนุกสนานในการเล่นเกม ใช้จัดสอนได้ทุกระดับชั้น 
มีข้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.แจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
      3.นักเรียนตั้งคำถามกลุ่มละ 10 คำถาม
      4.ให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมาตอบคำถาม กลุ่มละ 1 คน
      5.ให้นักเรียนเลือกพิธีกร 1 คน คัดเลือกคำถาม 10 ข้อ
ย่อหน้า6.แบ่งกลุ่มการแข่งขันออกเป็น 2 กลุ่ม
      7.นักเรียนเลือกบุคคลที่จะตอบคำถาม ถ้าตอบถูกได้เป็นคะแนนกลุ่ม
      8.เปลี่ยนกลุ่มถามคำถาม เลือกบุคคลที่ตอบคำถามโดยไม่ซำกัน
      9.ผู้ใดตอบถูกจะได้เป็นคะแนนเก็บเป็นคะแนนสะสมของกลุ่ม

12. "เกมจราชน" เป็นเทคนิคการสอนแบบเล่นเกม ใช้สอนเด็กได้ทุกระดับชั้น สอนให้นักเรียนได้คิดหาคำหรือข้อความที่มีความหมายต่อจากคำที่นักเรียนใบ้ ให้ได้คำตอบ 
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คือ

      1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.แต่ละกลุ่มให้ส่งตัวแทนออกมาใบ้คำ พูดได้ครั้งละ 1 คำ มีโอกาส 3 ครั้ง โดยกำหนดไม่ให้พูดคำในเฉลย
      3.ครูแจกบัตรคำให้ทีละกลุ่มใบ้คำ
      4.กลุ่มใดตอบได้เก็บเป็นคะแนนกลุ่ม

13. 4 ต่อ 4 Family Game เป็นเทคนิคการสอนแบบการเล่นเกม ใช้สอนวิชาหลักได้ และเป็นการเล่นเกมเหมาะกับนักเรียนทุกระดับ 
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม
      2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา โดยซักซ้อมผู้ที่ออกมาติบคำถามกลุ่มละ 1 คน
      3.ส่งตัวแทนกลุ่มละ 1 คน แยกเป็น 2 ทีม ทีมละ 4 คน
      4.ครูถามปัญหา
      5.นักเรียนตอบปัญหาทีละคน ถ้าคนใดตอบผิดจะเปลี่ยนทีมตอบ และคะแนนจะตกเป็นของฝ่ายตรงข้าม

14. "เธอถามฉัน ฉันถามเธอ" เป็นเทคนิคการสอนแบบตั้งคำถาม ใช้สอนนักเรียนได้ทุกวิชา และใช้ได้กับเด็กเล็กและโต เป็นการพัฒนากระบวนการจดจำจากเรื่องที่ได้เรียนหรือประสบการณ์เดิม 




มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา
      3.แต่ละกลุ่มให้ร่วมกันเขียนคำถาม เพื่อวัดความรู้กลุ่มละ 15 คำถาม
      4.แต่ละกลุ่มนำคำถามของกลุ่มไปให้กลุ่มอื่นหาคำตอบ โดยกำหนดระยะเวลาที่จำกัด
      5.แต่ละกลุ่มหาคำตอบจากคำถามของกลุ่มอื่น

15. บทเรียนหน้าเดียว เป็นเทคนิคการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นกระบวนการกลุ่ม 
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

      1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา และทำบทเรียนหน้าเดียว แบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้
      2.1 ภาพนำเข้าสู่บทเรียน
      2.2 เนื้อหา
      2.3 แบบทดสอบ
      3.ให้แต่ละกลุ่มนำบทเรียนหน้าเดียวไปใด้เพื่อนแต่ละกลุ่มศึกษา
      4.ให้แต่ละกลุ่มค้นหาคำตอบของคำถาม และตรวจสอบความถูกต้องตามเฉลย
      5.ครูทดสอบความรู้

16. เทคนิคการสำรวจความรู้สึก เป็นเทคนิคการสอนแบบพัฒนากระบวนการคิด สามารถใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต สามารถกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดวินิจฉัยหรือคิดวิเคราะห์ 

   มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ
      1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
      2.ครูนำเสนอสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง
      3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มระบุ ข้อเท็จจริงในเหตุการณ์
      4.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวินิจฉัย เกี่ยวกับความรู้สึกของแต่ละบุคคลในเหตุการณ์ และให้เหตุผลถึงพฤติกรรมนั้นๆ
      5.ให้นักเรียนแต่ละคนบรรยายประสบการณ์เดิมของนักเรียนที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์
      6.ให้นักเรียนแต่ละคนเปรียบเทียบความรู้สึกของตนเองกับบุคคลในเหตุการณ์
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น