นวัตกรรมการศึกษา (Innovation in Education)
การศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาที่พัฒนาการตามยุค IT นวัตกรรมจึงถูกนำมาใช้กับการศึกษาที่เรียกว่า"นวัตกรรมการศึกษา"(Innovation Education)
"นวัตกรรม" หมายถึง การทำอะไรใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆมาปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพของงานหรือของสิ่งที่ได้กระทำให้ดียิ่งขึ้น "นวัตกรรมการศึกษา" เป็นการนำแนวคิด วิธีการการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพให้การศึกษา มีระบบที่ดีขึ้น มีคุณภาพ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลสูงขึ้น
บทบาทของนวัตกรรมเพื่อการศึกษา
การศึกษาในปัจจุบันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่การศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นที่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนทุกสถานที่ที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต "นวัตกรรม"จึงมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่จะเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มากยิ่งขึ้น
ลักษณะที่จัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่ได้คิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สิ่งที่เคยนำมาใช้แล้วและปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น หรือสิ่งที่คิดเพิ่มเติมจากเดิม การนำวิธีการใหม่ๆที่ดีกว่ามาปรับปรุงแก้ไขวิธีการเดิมๆ การคิดค้นระบบหรือการจัดการวิธีการ การวิจัยหรืออื่นๆ แล้วนำมาเผยแพร่กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น
คอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนแบบโปรแกรม
ชุดการสอน
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้นั้นบางท่านคิดถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนหรือวิธีการสอนเท่านั้น แต่มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนการสอนได้แก่
ครูผู้สอน
ผู้เรียน
หลักสูตรเนื้อหา
ทักษะกระบวนการต่างๆ
สื่ออุปกรณ์
นวัตกรรมแนววิธีสอน
นวัตกรรมวิธีสอนเป็นแนวจัดการสอนที่จะนำมาใช้สอนเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุตามจุดประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ แนววิธีการสอนและเทคนิคต่างๆเพื่อนำมาใช้สอนที่เหมาะสมกับวิชาที่สอน มีเทคนิควิธีการ ต่างๆ คือ
1. เทคนิค Jigsaw เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้สอนนักเรียนได้ทั้งเล็กและโต เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม
การศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาที่พัฒนาการตามยุค IT นวัตกรรมจึงถูกนำมาใช้กับการศึกษาที่เรียกว่า"นวัตกรรมการศึกษา"(Innovation Education)
"นวัตกรรม" หมายถึง การทำอะไรใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆมาปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพของงานหรือของสิ่งที่ได้กระทำให้ดียิ่งขึ้น "นวัตกรรมการศึกษา" เป็นการนำแนวคิด วิธีการการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพให้การศึกษา มีระบบที่ดีขึ้น มีคุณภาพ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลสูงขึ้น
บทบาทของนวัตกรรมเพื่อการศึกษา
การศึกษาในปัจจุบันนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่การศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นที่ในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนทุกสถานที่ที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต "นวัตกรรม"จึงมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่จะเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มากยิ่งขึ้น
ลักษณะที่จัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่ได้คิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด สิ่งที่เคยนำมาใช้แล้วและปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น หรือสิ่งที่คิดเพิ่มเติมจากเดิม การนำวิธีการใหม่ๆที่ดีกว่ามาปรับปรุงแก้ไขวิธีการเดิมๆ การคิดค้นระบบหรือการจัดการวิธีการ การวิจัยหรืออื่นๆ แล้วนำมาเผยแพร่กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น
คอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนแบบโปรแกรม
ชุดการสอน
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนรู้นั้นบางท่านคิดถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนหรือวิธีการสอนเท่านั้น แต่มีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนการสอนได้แก่
ครูผู้สอน
ผู้เรียน
หลักสูตรเนื้อหา
ทักษะกระบวนการต่างๆ
สื่ออุปกรณ์
นวัตกรรมแนววิธีสอน
นวัตกรรมวิธีสอนเป็นแนวจัดการสอนที่จะนำมาใช้สอนเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุตามจุดประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ แนววิธีการสอนและเทคนิคต่างๆเพื่อนำมาใช้สอนที่เหมาะสมกับวิชาที่สอน มีเทคนิควิธีการ ต่างๆ คือ
1. เทคนิค Jigsaw เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้สอนนักเรียนได้ทั้งเล็กและโต เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คือ
1.ครูแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนเท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่มของนักเรียน
2.จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 4-5 คน
3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการศึกษาหัวข้อย่อยๆของเนื้อหา
4.ให้นักเรียนที่ศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกันมารวมกันเป็นกลุ่มใหม่เพื่อร่วมอภิปราย ซักถามให้มีความรู้ความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
5.ให้นักเรียนกลุ่มใหม่แยกย้ายกลับไปกลุ่มเดิมของตน แล้วผลัดกันอธิบายความรู้ที่ได้รับให้เพื่อนในกลุมฟัง
6.นักเรียนในกลุ่มทำแบบทดสอบย่อยเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ นำคะแนนของสมาชิกกลุ่มแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม
2. เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions) เป็นเทคนิคการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ใช้กับนักเรียนที่เป็นเด็กเล็กและโตได้
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คือ
1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
3.แบ่งหน้าที่ในกลุ่ม ศึกษาและทำกิจกรรมในใบงาน
4.นักเรียนทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ
5.นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำคะแนนการพัฒนา
3. เทคนิค TGT (Team Games Tournament) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้กับการเรียนการสอนที่ต้องการให้นักเรียนได้สนุกสนานและกระบวนการกลุ่ม
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คือ
1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
3.นักเรียนเตรียมความพร้อมให้สมาชิกกลุ่ม โดยการซักซ้อมความรู้ความเข้าใจ ซักถามปัญหาที่ตั้งขึ้นเอง
4.จัดการแข่งขันระหว่างกลุ่ม โดยส่งชื่อผู้เข้าแข่งขัน
5.ประกาศผลการแข่งขัน ชมเชยนักเรียนที่ชนะ
4. เทคนิค GI (Group Inverstigation) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต สามารถใช้สอนในวิชาหลักได้ทุกวิชา
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ
1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ให้มีความสามารถเท่ากัน
3.แบ่งเรื่องที่ศึกษาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ แบ่งเป็นใบงานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ฯลฯ
4.นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมในใบงาน
5.แต่ละกลุ่มนำเสนอรายงานหน้าชั้น
5. เทคนิค NHT (Numbered Heads TogetHer) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้กับการสอนวิชาหลัก และกิจกรรมพัฒนาตนเองได้ สามารถใช้สอนได้กับเด็กเล็กและเด็กโต
2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ให้มีความสามารถเท่ากัน
3.แบ่งเรื่องที่ศึกษาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ แบ่งเป็นใบงานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ฯลฯ
4.นักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมในใบงาน
5.แต่ละกลุ่มนำเสนอรายงานหน้าชั้น
5. เทคนิค NHT (Numbered Heads TogetHer) เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้กับการสอนวิชาหลัก และกิจกรรมพัฒนาตนเองได้ สามารถใช้สอนได้กับเด็กเล็กและเด็กโต
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คือ
1.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
2.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ให้มีความสามารถคละกัน
3.ครูแจกใบงาน
4.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มซักซ้อม ทบทวนปัญหาจนสมาชิกในกลุ่มเข้าใจคำตอบ
5.ครูถามคำถามนักเรียนในกลุ่มโดยเรียกนักเรียนคนใดคนหนึ่งตอบคำถาม
6.ชมเชยนักเรียนกลุ่มที่มีสมาชิกตอบได้มากที่สุด
6. เทคนิค Buzzing เป็นเทคนิคการสอนที่ใช้กลุ่มย่อย เป็นการสอนโดยการระดมความคิดของทุกคนในกลุ่ม
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ
1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 6-8 คน
2.ครูแจกใบความรู้
3.นักเรียนช่วยกันระดมความคิด สมาชิกร่วมกันอภิปราย
4.ให้นักเรียนสรุปความคิดที่เป็นเอกฉันท์
7. เทคนิค UCEFAS (Uitimate Current Effect Facto Aiternative Soulution) เป็นเทคนิคการสอนแบบการคิดแก้ปัญหา สามารถใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต ถ้าเป็นเด็กเล้กก็ให้ปัญหาที่ไม่ซับซ้อนเกินไปโดยให้นักเรียนหาปัญหาทั่วๆไปที่พบเห็นอยู่เสมอ
2.ครูแจกใบความรู้
3.นักเรียนช่วยกันระดมความคิด สมาชิกร่วมกันอภิปราย
4.ให้นักเรียนสรุปความคิดที่เป็นเอกฉันท์
7. เทคนิค UCEFAS (Uitimate Current Effect Facto Aiternative Soulution) เป็นเทคนิคการสอนแบบการคิดแก้ปัญหา สามารถใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต ถ้าเป็นเด็กเล้กก็ให้ปัญหาที่ไม่ซับซ้อนเกินไปโดยให้นักเรียนหาปัญหาทั่วๆไปที่พบเห็นอยู่เสมอ
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม
คือ
1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-8 คน
2.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
3.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดสภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้น
4.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดอภิปรายถึงสภาพปัจจุบันของปัญหา
5.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์ผลกระทบจากปัญหา
6.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา
7.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์คิดหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
8.นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา เพื่อร่วมกันคัดเลือกหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด
8. เทคนิค หมวก 6 ใบ เป็นเทคนิคการสอนแบบตั้งคำถามเป็นการสอนเพื่อพัฒนาการคิดสำหรับนักเรียนทุกระดับ
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คือ
1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.แบ่งกลุมนักเรียนให้คิด ดังนี้
กลุมที่ 1 ตั้งคำถามให้คิด (สีขาว)
กลุ่มที่ 2 ถามความรู้สึก (สีแดง)
กลุ่มที่ 3 ตรวจสอบหาผลกระทบ (สีดำ)
กลุ่มที่ 4 หาข้อดี (สีเหลือง)
กลุ่มที่ 5 หาทางเลือกในการพัฒนา (สีเขียว)
กลุ่มที่ 6 โครงสร้างกระบวนการคิด
3.กลุ่มสรุปแผนการดำเนินโครงการ
9. เทคนิค Storyline Method เป็นเทคนิคการสอนแบบบูรณาการ ใช้สอนได้กับนักเรียนทุกระดับชั้น เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนากระบวนการกลุ่ม
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คือ
1.ครูวิเคราะห์เนื้อหาที่เรียน
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
3.จัดกิจกรรมตามเนื้อเรื่องที่กำหนดเป็นตอนๆ โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
4.กำหนดฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต และเหตุการณ์
10. "ชิงร้อย ชิงล้าน" เป็นเทคนิคการสอนแบบการเล่นเกม ใช้สอนในวิชาหลักได้และใช้สอนเด็กได้ทุกระดับ
2.แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
3.จัดกิจกรรมตามเนื้อเรื่องที่กำหนดเป็นตอนๆ โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
4.กำหนดฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต และเหตุการณ์
10. "ชิงร้อย ชิงล้าน" เป็นเทคนิคการสอนแบบการเล่นเกม ใช้สอนในวิชาหลักได้และใช้สอนเด็กได้ทุกระดับ
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คือ
1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.แจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
3.แต่ละกลุ่มตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่านกลุ่มละ 10 คำถาม เป็นลักษณะ
คำถาม "จริงหรือไม่"
4.นักเรียนคัดเลือกพิธีกรชาย 1 คน หญิง 1 คน
5.พิธีกรคัดเลือกคำถามจากกลุ่มต่างๆ ประมาณ 10-15 คำถาม
6.พิธีกรเริ่มรายการ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบ
7.ถ้ากลุ่มใดตอบผิด ให้กลุ่มตอบถูกเป็นผู้เฉลย
8.แต่ละกลุ่มช่วยบันทึกคะแนนที่ได้
11. "แชมเปี้ยนเกม" เป็นเทคนิคการสอนแบบเล่นเกม เป็นวิธีการสอนให้เกิดความรู้และความสนุกสนานในการเล่นเกม ใช้จัดสอนได้ทุกระดับชั้น
มีข้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ
1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.แจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง
3.นักเรียนตั้งคำถามกลุ่มละ 10 คำถาม
4.ให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมาตอบคำถาม กลุ่มละ 1 คน
5.ให้นักเรียนเลือกพิธีกร 1 คน คัดเลือกคำถาม 10 ข้อ
ย่อหน้า6.แบ่งกลุ่มการแข่งขันออกเป็น 2 กลุ่ม
7.นักเรียนเลือกบุคคลที่จะตอบคำถาม ถ้าตอบถูกได้เป็นคะแนนกลุ่ม
8.เปลี่ยนกลุ่มถามคำถาม เลือกบุคคลที่ตอบคำถามโดยไม่ซำกัน
9.ผู้ใดตอบถูกจะได้เป็นคะแนนเก็บเป็นคะแนนสะสมของกลุ่ม
12. "เกมจราชน" เป็นเทคนิคการสอนแบบเล่นเกม ใช้สอนเด็กได้ทุกระดับชั้น สอนให้นักเรียนได้คิดหาคำหรือข้อความที่มีความหมายต่อจากคำที่นักเรียนใบ้ ให้ได้คำตอบ
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คือ
1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.แต่ละกลุ่มให้ส่งตัวแทนออกมาใบ้คำ พูดได้ครั้งละ 1 คำ มีโอกาส 3 ครั้ง โดยกำหนดไม่ให้พูดคำในเฉลย
3.ครูแจกบัตรคำให้ทีละกลุ่มใบ้คำ
4.กลุ่มใดตอบได้เก็บเป็นคะแนนกลุ่ม
13. 4 ต่อ 4 Family Game เป็นเทคนิคการสอนแบบการเล่นเกม ใช้สอนวิชาหลักได้ และเป็นการเล่นเกมเหมาะกับนักเรียนทุกระดับ
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คือ
1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่ม
2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา โดยซักซ้อมผู้ที่ออกมาติบคำถามกลุ่มละ 1 คน
3.ส่งตัวแทนกลุ่มละ 1 คน แยกเป็น 2 ทีม ทีมละ 4 คน
4.ครูถามปัญหา
5.นักเรียนตอบปัญหาทีละคน ถ้าคนใดตอบผิดจะเปลี่ยนทีมตอบ และคะแนนจะตกเป็นของฝ่ายตรงข้าม
14. "เธอถามฉัน ฉันถามเธอ" เป็นเทคนิคการสอนแบบตั้งคำถาม ใช้สอนนักเรียนได้ทุกวิชา และใช้ได้กับเด็กเล็กและโต เป็นการพัฒนากระบวนการจดจำจากเรื่องที่ได้เรียนหรือประสบการณ์เดิม
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คือ
1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา
3.แต่ละกลุ่มให้ร่วมกันเขียนคำถาม เพื่อวัดความรู้กลุ่มละ 15 คำถาม
4.แต่ละกลุ่มนำคำถามของกลุ่มไปให้กลุ่มอื่นหาคำตอบ โดยกำหนดระยะเวลาที่จำกัด
5.แต่ละกลุ่มหาคำตอบจากคำถามของกลุ่มอื่น
15. บทเรียนหน้าเดียว เป็นเทคนิคการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นกระบวนการกลุ่ม
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คือ
1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
2.ครูแจกใบความรู้ให้นักเรียนศึกษา และทำบทเรียนหน้าเดียว แบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้
2.1 ภาพนำเข้าสู่บทเรียน
2.2 เนื้อหา
2.3 แบบทดสอบ
3.ให้แต่ละกลุ่มนำบทเรียนหน้าเดียวไปใด้เพื่อนแต่ละกลุ่มศึกษา
4.ให้แต่ละกลุ่มค้นหาคำตอบของคำถาม และตรวจสอบความถูกต้องตามเฉลย
5.ครูทดสอบความรู้
16. เทคนิคการสำรวจความรู้สึก เป็นเทคนิคการสอนแบบพัฒนากระบวนการคิด สามารถใช้สอนได้ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต สามารถกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดวินิจฉัยหรือคิดวิเคราะห์
มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คือ
1.แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม
กลุ่มละ 6-8 คน
2.ครูนำเสนอสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง
3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มระบุ ข้อเท็จจริงในเหตุการณ์
4.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวินิจฉัย เกี่ยวกับความรู้สึกของแต่ละบุคคลในเหตุการณ์ และให้เหตุผลถึงพฤติกรรมนั้นๆ
5.ให้นักเรียนแต่ละคนบรรยายประสบการณ์เดิมของนักเรียนที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์
6.ให้นักเรียนแต่ละคนเปรียบเทียบความรู้สึกของตนเองกับบุคคลในเหตุการณ์
2.ครูนำเสนอสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง
3.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มระบุ ข้อเท็จจริงในเหตุการณ์
4.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวินิจฉัย เกี่ยวกับความรู้สึกของแต่ละบุคคลในเหตุการณ์ และให้เหตุผลถึงพฤติกรรมนั้นๆ
5.ให้นักเรียนแต่ละคนบรรยายประสบการณ์เดิมของนักเรียนที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์
6.ให้นักเรียนแต่ละคนเปรียบเทียบความรู้สึกของตนเองกับบุคคลในเหตุการณ์